วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วัน พฤหัสบดี ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่มอบหมายสัปดาห์ที่แล้ว คือ Big   Book  และบัตรคำ   อาจารย์ได้ตรวจของนักศึกษาทุกกลุ่มโดยกลุ่มข้าพเจ้าต้องแก้ไขงาน  และกลุ่มไหนที่ได้แก้ไขอาจารย์ให้แก้ไขในห้องเรียนถ้าวันนี้แก้ไขไม่เสร็จ ให้ส่งภายในวันพรุ่งนี้ก่อนบ่าย 3 โมง

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วัน พฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2555

-อาจารย์พูดถึงการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
-อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน เพื่อทำกิจกรรม และได้อธิบายวิธีการในการทำ
-นำเสนองานที่ไปร่วมทำกับเด็กมา (ต่อ)

โดยกลุ่มของข้าพเจ้ามีข้อแนะนำดังนี้
1.หนังสือต้องมีเลขหน้า
2.ตัวหนังสือเล็กเกินไป
3.การเขียนต้องเขียนแยกคำ
4.ภาพที่ติดจะต้องให้ตรงกับรูปภาพ
5.ต้องกำหนดตำแหน่งการติดรูปภาพเพื่อเด็กจะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์
6.แผ่นสรุปหน้าสุดท้ายควรเขียนว่า "ระวัง... ถ้ากินมากเกินไปอาจทำให้อ้วนได้"

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี ที่ 23 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

- นำเสนองานที่สั่งให้ไปร่วมทำกับน้อง  วันนี้เพิ่งนำเสนอไป 3 กลุ่ม ยังไม่ครบ  อาจารย์ Comment หลายอย่าง
-อาจารย์ให้เตรียมทำหนังสือนิทานเล่มใหญ่ นัดมารับกระดาษวันศุกร์นี้
-อาจารย์พูดในห้องเรียนวันนี้หลายเรื่อง เพื่อให้เรานำไปคิด นำไปปรับปรุงแก้ไขตัวเอง
 

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วัน พฤหัสบดี ที่  18 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555 (ชดเชย)

-อาจารย์อบรมสั่งสอนเรื่องการให้ความร่วมมือ
-อาจารย์บอกข้อเสนอแนะเรื่องปริศนาคำทาย
-อาจารย์ให้วาดภาพ แล้วออกไปเล่านิทานแบบต่อเนื่อง
-อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แทนคำ 1 ประโยคอะไรก็ได้ แล้วให้เพื่อนทาย
-พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่า พยางคืละ 1 ท่า  จากนั้นก็ทำท่าชื่อเพื่อนคนข้าง ๆ แล้ค่ยทำท่าตัวเอง
- ครูอธิบายว่า สิ่งที่เรารู้แล้วแสดงออกมาให้เพื่อนรู้ว่าเราเข้าใจ  *คือการเรียนรู้*
- เรียนเรื่องรูปแบบของภาษา เสียงสระ เสียงพยัญชนะ

พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วัน พฤหัสบดี ที่ 16 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

-อาจารย์ได้อบรมเรื่องการแต่งกาย การให้ความร่วมมือต่อส่วนรวม และความสามุคคี
-อจารย์ได้บอกอีกว่า " การพัฒนาตนเองต้องมีการศึกษานอกห้องเรียนด้วย "
-อาจารย์ได้ตรวจบล๊อก เพื่อดูความคืบหน้า และแนะนำการใส่เนื้อหา
-อาจารย์บอกว่าการใช้วรรณกรรมเป็นพื้นฐานจะช่วยให้เด็กมีคุณธรรมด้านอิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4 ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน ประกอบด้วย...           1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
           2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
           3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
           4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

ฉันทะ : ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
           อันดับแรกต้องสำรวจตนเองว่า มีความชอบหรือศรัทธางานด้านใด แล้วมุ่งไปในเส้นทางนั้น อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง ฉันทำงานเพื่ออะไร ฉันมีความสุขหรือไม่หากงานที่ทำอยู่ไม่ใช่งานที่รักเสียทีเดียว เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่

           อย่างไรก็ตาม เชื่อเถอะว่างานแต่ละอย่างนั้น ไม่มีทางที่ใครจะชื่นชอบไปทั้งหมดทุกกระบวนการ ดังนั้น ถ้าคุณพอใจที่จะทำ และมีความสุขกับงาน เชื่อว่างานที่คุณทำอยู่ต้องออกมาดีแน่ ๆ

วิริยะ : ขยันหมั่นเพียรกับงานที่มี
           งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะจึงเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้ ยิ่งคุณขยันเท่าไรผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรักในงานจากฉันทะนั่นเอง และความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเองต่างหาก

           ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงอย่างเดียว ลูกน้องก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ เดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็จะสามารถดึงลูกน้องให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย
 จิตตะ : เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ
           จิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ จิตตะเป็นธรรมะที่แสดงถึงสติ ความรอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้ มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน และขัดขาจนลืมคิดไปว่า งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือสิ่งใดกันแน่ จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว จิตตะจะเป็นเสมือนรั้วของเส้นทางที่ไม่ให้ไขว้เขวออกนอกทางสู่ความสำเร็จได้

           อย่างไรก็ดี ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบ มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติจะทำให้หยุดคิดยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอดแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่ธุระของตัวกลับไม่คิดไม่ดู ซึ่งไม่ส่งผลให้งานของเราดีขึ้น พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เป็นนักตรวจตรางาน คือให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า "ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ"

 วิมังสา : การพินิจพิเคราะห์และใช้ปัญญาตรวจสอบงาน
           สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสา แปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่นเพียงใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างและผิดพลาดจนได้

           เราอาจลองทบทวนตัวเองนิ่ง ๆ ว่าวันนี้ทั้งวันเราทำอะไรบ้าง สรุปกับตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เราจะได้มีกำลังใจต่อในวันต่อ ๆ ไป และไม่ทำผิดซ้ำซากอีกเช่นเดิม พร้อมกันนั้นเราจะสามารถเห็นหนทางได้ว่า เส้นทางไหนที่จะนำเราสู่ความสำเร็จได้จริง ๆ
           จะเห็นได้ว่า หลักธรรมะที่ใช้ในการทำงาน เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว หากเรานำ อิทธิบาท 4 มาปรับใช้ในการทำงาน รักงานที่ทำ ขยันทำงาน รับผิดชอบงาน และรู้จักไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ทางแห่งความสำเร็จคงไม่เกินเอื้อม...เชื่อเถอะ คุณก็ทำได้ ทุกอย่างอยู่ที่ "ใจ"

-อาจารย์ให้ทำปริศนาคำทายกลุ่ม 4  คน โดยอาจารย์มีตัวอย่างมาให้ดู

ตัวอย่าง

การสร้างภาพปริศนาคำทาย1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วัน พฤหัสบดี ที่ 9 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นกิจกกรมกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วัน พฤหัสบดี ที่ 2 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

*ไม่ได้เข้าเรียนเพราะมาสาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9
วันที่ 2 กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว



เพลง  Hello

Hello   Hello                     Hello     how  are   you ?
I'm   find     I'm   find        I   hope    that    you    too.

*คัดลอกมาจาก นางสาวดาราวรรณ นาวงศ์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วัน พฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

* ขาดเรียนเพราะ ปวดหัว ไม่สบาย

-วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  ความหมายความสำคัญของภาษา  ภาษาที่ใช้ต้อง
เหมาะสม  ควรชัดถ้อยชัดคำ  บทบาทของครูผู้สอน คือ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี (เครื่องแบบไมส่ได้ทำให้สมองพัฒนาดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นเครื่องสะท้อนถึงองค์กร)

-ภาษาคือเครื่องมือในการที่จะให้พัฒนา
*การจัดประสบการณ์กับเด็กต้องมีอะไร  และอาจารย์ได้เปิดภาพวาดของเด็กอนุบาลให้นักศึกษาดู และได้พูดถึงการเขียนและการพูด  การฟังและการพูด    เด็กจะเรียนโดยไม่อาศัยการสอนอย่างเป็นทางการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ได้ เมื่ออายุ 4-5 ปี
-สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัย จะต้องตระหนัก และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กคือความเข้าใจ

-ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส(Code)ใช้แทนสัตว์ที่มีเท้า  สิ่งของ สถานที่  กริยาอาการ  และเหตุการณ์ เช่น เด็กกินขนม

* คัดลอกมาจาก นางสาวดาราวรรณ นาวงศ์

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วัน พฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

-วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง) การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทานและอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
-อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค
 
* หมายเหตุ : คัดลอกมาจาก น.ส. ดาราวรรณ นาวงศ์ เนื่องจากไม่ได้มาเรียนเพราะ กลับบ้านที่ต่างจังหวัด

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วัน พฤหัสบดี ที่ 12  มกราคม พ.ศ. 2555

- อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการไหว้

-อาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนองานการเล่านิทานที่ไปเล่าให้เด็กฟัง

-อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับบุคลิกภาพ การพูดคำควบกล้ำเวลาออกมานำเสนอ และอาจารย์ได้อธิบายถึงสิ่งที่นักศึกษาออกมานำเสนอ

พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)

การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ

ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)

อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง

ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)

ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน

ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)

ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก

ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)

ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ

1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้

ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น

- อาจารย์ให้ดู VDO อันเก่าเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย

- อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องที่สอนในวันนี้เพื่อเป็นการสรุปให้นักศึกษาฟัง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วัน พฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

* ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วัน พฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

- อาจารย์ให้ส่งงานที่อาจารย์สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ ประวัตินักการศึกษาที่พูดเกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัย

- อาจารย์ให้เขียนภาษาถิ่นของแต่ละคน(ภาษาใต้)

- อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


วัน พฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554


* การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กโดยให้สอดคล้องกับพัฒนาการ โดยผ่านการเล่น ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส


- นำเสนอ VDO ที่ไปสัมภาษณ์เด็กๆ แล้วช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องราวที่พูดคุยกับเด็กในวิดีโอเพื่อเป็นการนำไปต่อยอดพัฒนาการของเด็ก


งานที่ได้รับมอบหมาย

-ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
-ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป