วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วัน พฤหัสบดี ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่มอบหมายสัปดาห์ที่แล้ว คือ Big   Book  และบัตรคำ   อาจารย์ได้ตรวจของนักศึกษาทุกกลุ่มโดยกลุ่มข้าพเจ้าต้องแก้ไขงาน  และกลุ่มไหนที่ได้แก้ไขอาจารย์ให้แก้ไขในห้องเรียนถ้าวันนี้แก้ไขไม่เสร็จ ให้ส่งภายในวันพรุ่งนี้ก่อนบ่าย 3 โมง

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วัน พฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2555

-อาจารย์พูดถึงการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
-อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน เพื่อทำกิจกรรม และได้อธิบายวิธีการในการทำ
-นำเสนองานที่ไปร่วมทำกับเด็กมา (ต่อ)

โดยกลุ่มของข้าพเจ้ามีข้อแนะนำดังนี้
1.หนังสือต้องมีเลขหน้า
2.ตัวหนังสือเล็กเกินไป
3.การเขียนต้องเขียนแยกคำ
4.ภาพที่ติดจะต้องให้ตรงกับรูปภาพ
5.ต้องกำหนดตำแหน่งการติดรูปภาพเพื่อเด็กจะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์
6.แผ่นสรุปหน้าสุดท้ายควรเขียนว่า "ระวัง... ถ้ากินมากเกินไปอาจทำให้อ้วนได้"

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี ที่ 23 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

- นำเสนองานที่สั่งให้ไปร่วมทำกับน้อง  วันนี้เพิ่งนำเสนอไป 3 กลุ่ม ยังไม่ครบ  อาจารย์ Comment หลายอย่าง
-อาจารย์ให้เตรียมทำหนังสือนิทานเล่มใหญ่ นัดมารับกระดาษวันศุกร์นี้
-อาจารย์พูดในห้องเรียนวันนี้หลายเรื่อง เพื่อให้เรานำไปคิด นำไปปรับปรุงแก้ไขตัวเอง
 

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วัน พฤหัสบดี ที่  18 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555 (ชดเชย)

-อาจารย์อบรมสั่งสอนเรื่องการให้ความร่วมมือ
-อาจารย์บอกข้อเสนอแนะเรื่องปริศนาคำทาย
-อาจารย์ให้วาดภาพ แล้วออกไปเล่านิทานแบบต่อเนื่อง
-อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แทนคำ 1 ประโยคอะไรก็ได้ แล้วให้เพื่อนทาย
-พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่า พยางคืละ 1 ท่า  จากนั้นก็ทำท่าชื่อเพื่อนคนข้าง ๆ แล้ค่ยทำท่าตัวเอง
- ครูอธิบายว่า สิ่งที่เรารู้แล้วแสดงออกมาให้เพื่อนรู้ว่าเราเข้าใจ  *คือการเรียนรู้*
- เรียนเรื่องรูปแบบของภาษา เสียงสระ เสียงพยัญชนะ

พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วัน พฤหัสบดี ที่ 16 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

-อาจารย์ได้อบรมเรื่องการแต่งกาย การให้ความร่วมมือต่อส่วนรวม และความสามุคคี
-อจารย์ได้บอกอีกว่า " การพัฒนาตนเองต้องมีการศึกษานอกห้องเรียนด้วย "
-อาจารย์ได้ตรวจบล๊อก เพื่อดูความคืบหน้า และแนะนำการใส่เนื้อหา
-อาจารย์บอกว่าการใช้วรรณกรรมเป็นพื้นฐานจะช่วยให้เด็กมีคุณธรรมด้านอิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4 ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน ประกอบด้วย...           1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
           2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
           3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
           4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

ฉันทะ : ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
           อันดับแรกต้องสำรวจตนเองว่า มีความชอบหรือศรัทธางานด้านใด แล้วมุ่งไปในเส้นทางนั้น อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง ฉันทำงานเพื่ออะไร ฉันมีความสุขหรือไม่หากงานที่ทำอยู่ไม่ใช่งานที่รักเสียทีเดียว เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่

           อย่างไรก็ตาม เชื่อเถอะว่างานแต่ละอย่างนั้น ไม่มีทางที่ใครจะชื่นชอบไปทั้งหมดทุกกระบวนการ ดังนั้น ถ้าคุณพอใจที่จะทำ และมีความสุขกับงาน เชื่อว่างานที่คุณทำอยู่ต้องออกมาดีแน่ ๆ

วิริยะ : ขยันหมั่นเพียรกับงานที่มี
           งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะจึงเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้ ยิ่งคุณขยันเท่าไรผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรักในงานจากฉันทะนั่นเอง และความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเองต่างหาก

           ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงอย่างเดียว ลูกน้องก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ เดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็จะสามารถดึงลูกน้องให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย
 จิตตะ : เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ
           จิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ จิตตะเป็นธรรมะที่แสดงถึงสติ ความรอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้ มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน และขัดขาจนลืมคิดไปว่า งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือสิ่งใดกันแน่ จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว จิตตะจะเป็นเสมือนรั้วของเส้นทางที่ไม่ให้ไขว้เขวออกนอกทางสู่ความสำเร็จได้

           อย่างไรก็ดี ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบ มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติจะทำให้หยุดคิดยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอดแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่ธุระของตัวกลับไม่คิดไม่ดู ซึ่งไม่ส่งผลให้งานของเราดีขึ้น พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เป็นนักตรวจตรางาน คือให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า "ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ"

 วิมังสา : การพินิจพิเคราะห์และใช้ปัญญาตรวจสอบงาน
           สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสา แปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่นเพียงใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างและผิดพลาดจนได้

           เราอาจลองทบทวนตัวเองนิ่ง ๆ ว่าวันนี้ทั้งวันเราทำอะไรบ้าง สรุปกับตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เราจะได้มีกำลังใจต่อในวันต่อ ๆ ไป และไม่ทำผิดซ้ำซากอีกเช่นเดิม พร้อมกันนั้นเราจะสามารถเห็นหนทางได้ว่า เส้นทางไหนที่จะนำเราสู่ความสำเร็จได้จริง ๆ
           จะเห็นได้ว่า หลักธรรมะที่ใช้ในการทำงาน เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว หากเรานำ อิทธิบาท 4 มาปรับใช้ในการทำงาน รักงานที่ทำ ขยันทำงาน รับผิดชอบงาน และรู้จักไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ทางแห่งความสำเร็จคงไม่เกินเอื้อม...เชื่อเถอะ คุณก็ทำได้ ทุกอย่างอยู่ที่ "ใจ"

-อาจารย์ให้ทำปริศนาคำทายกลุ่ม 4  คน โดยอาจารย์มีตัวอย่างมาให้ดู

ตัวอย่าง

การสร้างภาพปริศนาคำทาย1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วัน พฤหัสบดี ที่ 9 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นกิจกกรมกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วัน พฤหัสบดี ที่ 2 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

*ไม่ได้เข้าเรียนเพราะมาสาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9
วันที่ 2 กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว



เพลง  Hello

Hello   Hello                     Hello     how  are   you ?
I'm   find     I'm   find        I   hope    that    you    too.

*คัดลอกมาจาก นางสาวดาราวรรณ นาวงศ์